การปรากฏ สมบัติ และปฏิกิริยาเคมี ของ โอกาเนสซอน

อูนอูนออกเทียม คาดว่าเป็นสารบริสุทธิ์เสมอ และเป็นแก๊สที่ STP ไม่มีสี เป็นธาตุสังเคราะห์ เป็นธาตุกัมมันตรังสี และเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy element)

ซึ่งเป็นผลผลิตจากการปะทะกันระหว่าง อะตอมของ แคลิฟอร์เนียม-249 กับ อิออนของ แคลเซียม-48 [19] ดังสมการ

98 249 C f + 20 48 C a → 118 294 U u o + 3 0 1 n {\displaystyle \,_{98}^{249}\mathrm {Cf} +\,_{20}^{48}\mathrm {Ca} \,\to \,{}_{118}^{294}\mathrm {Uuo} +3\;_{0}^{1}\mathrm {n} \;}

โอกาสการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันน้อยมาก เพราะภาคตัดขวางพื้นที่ปฏิกิริยานิวเคลียร์เท่ากับ 0.5 pb (5×10−41 m2) มากกว่า อิออนของแคลเซียมซึ่งเท่ากับ 4×1019 m2 จึงเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเพียง 3 ครั้งเท่านั้น

คณะวิจัยในดุบนาได้สังเกต การสลายตัวของอูนอูนออกเทียม-294 พบว่า มีครึ่งชีวิต 0.89 มิลลิวินาที โดยสลายตัวให้ รังสีแอลฟา แล้วกลายเป็น อูนอูนเฮกเซียม-290 เนื่องจากมีเพียง 3 นิวเคลียส เวลาครึ่งชีวิตจึงยังไม่แน่ชัด โดยมีความคลาดเคลื่อนในช่วง 0.89-0.31+1.07 ms

การระบุนิวเคลียสของ อูนอูนออกเทียม-294 ถูกพิสูจน์โดยการสังเคราะห์แยกนิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ตามสมมติฐาน โดยวิธีกระหน่ำยิงอะตอม คูเรียม-245 ด้วยอิออน แคลเซียม-48 ดังสมการ

96 245 C m + 20 48 C a → 116 290 L v + 3 0 1 n {\displaystyle \,_{96}^{245}\mathrm {Cm} +\,_{20}^{48}\mathrm {Ca} \,\to \,_{116}^{290}\mathrm {Lv} +3\;_{0}^{1}\mathrm {n} \;}

แล้วตรวจว่า อูนอูนเฮกเซียม-290 สลายตัวสัมพันธ์กับลูกโซ่การสลายตัวของนิวเคลียส อูนอูนออกเทียม-294

นิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ไม่เสถียรอย่างมาก โดยสลายตัวด้วยครึ่งชีวิต 14 มิลลิวินาที กลายเป็น อูนอูนควอเดียม-286 ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง หรือไม่ก็สลายตัวให้รังสีแอลฟา กลายเป็น อูนอูนเบียม-282 ก่อนแล้วจึงเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง [20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอกาเนสซอน http://lch.web.psi.ch/files/anrep03/06.pdf http://www.apsidium.com/elements/118.htm http://discovermagazine.com/2007/jan/physics/artic... http://discovermagazine.com/2007/jan/physics/artic... http://abcnews.go.com/US/wireStory?id=2574354 http://books.google.com/books?id=0xcAM5BzS-wC&prin... http://www.nature.com/news/2006/061016/full/061016... http://physicsworld.com/cws/article/news/2629 http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://enews.lbl.gov/Science-Articles/Archive/118-...